วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ศาสนาสำคัญในประเทศไทย

ศาสนาสำคัญในประเทศไทย
   แม้คนไทยส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนา  แต่ประเทศไทยเป็นดินแดนเสรี  ประชาชนได้รับสิทธิที่จะนับถือศาสนาใดๆ  ก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น
   อย่างไรก็ตาม  ความแตกต่างทางศาสนาไม่เคยก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงในประเทศไทยศาสนิกชนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด  ต่างก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะทุกศาสนาสอนให้คนละเว้นความชั่วประพฤติแต่ความดี ศาสนาจึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจช่วยเหนี่ยวรั้งบุคคลมิให้ประพฤติไม่ดี
   สำหรับศาสนาสำคัญในประเทศไทยได้แก่  ศาสนาอิสลาม  ศาสนาคริสต์  ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  และศาสนาสิกข์  ในที่นี้จะยกตัวอย่างแค่า    ศาสนา คือ ศาสนาอิสลาม และอ่านเพิ่มเติม

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

ความหมายของศาสนา

        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ ศาสนาจึงมีความหมายในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้อ่านเพิ่มเติม

หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ

พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมีดังนี้

บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

             พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษาปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน สืบต่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาหน้าที่ของพระภิกษุที่สัมพันธ์กับคฤหัสถ์ ได้แก่ การให้ความอนุเคราะห์ชาวบ้าน ตามหลักปฏิบัติในฐานะที่พระภิกษุเป็นเสมือนทิศเบื้องบนได้แก่

๑. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว คือ งดเว้นจากการเบียดเบียนกัน ไม่ทำลายทั้งชีวิตตนเองและผู้อื่น
๒. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี งดเว้นอบายมุข 6
๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดีด้วยน้ำใจอันงามโดยยึดถือหลักสังคหวัตถุ 4 อ่านเพิ่มเติม

พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง

พระอานนท์
     พระอานนท์เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ กับพระนางกีสาโคตมี เมื่อลำดับญาติแล้วพระอานนท์เป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์หลังจากตรัสรู้แล้วเพื่อโประพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระราชบิดาจนได้ดวงตาเห็นธรรม เมื่อประทับอยู่พอสมควรแก่เวลา ก็เสด็จไปยังเมืองไพสาลีพร้อมพระอรหันต์สาวก ขณะเสด็จถึงอนุปัยนิคม แคล้วนมัลละ เจ้าชายอานนท์พร้อมด้วยเจ้าชายในราชสกุลศากยะได้ตามเข้าเฝ้าและขอบวชจากรพะพุทธเจ้า พระอานนท์เมื่ออุปสมบทไม่นาน ท่านได้ฟังโอวาทากพระปุณณมันตานีบุตรอ่านเพิ่มเติม

การบริหารจิตและเจริญปัญญา

การสวดมนต์แปลและ แผ่เมตตา
การไหว้พระสวดมนต์เป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตน ตรัยที่เราต้องปฏิบัติให้พร้อมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อให้เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา ผู้ที่ปฏิบัติเป็นประจำจะเกิดสติสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิ ประณีตและมีคุณธรรม ทำให้ความเห็นถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา
          ในขณะที่สวดมนต์ถือเป็นการ บริหารจิตและเจริญปัญญาเบื้องต้น จะทำให้มีสติและสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่กับปัจจุบันเสมอ การไหว้พระสวดมนต์ โดยมากนิยมทำในตอนเช้าและก่อนนอน หรือทำก่อนที่เราจะฝึกสมาธิซึ่งจะช่วยให้ผู้ฝึกจิตสงบ มีสมาธิ และระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
ประโยชน์ของการสวดมนต์แผ่เมตตา
1. เป็นสุขทั้งยามหลับยามตื่น
2. ขณะหลับอยู่ไม่ฝันร้าย
3. สีหน้าสดชื่นผ่องใส เป็นที่รักของผู้พบเห็น
4. จิตมั่นคง ใจเป็นสมาธิตั้งมั่นได้เร็ว

5.เทวดาย่อมรักษาคุ้มครอง อ่านเพิ่มเติม

พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต

พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก
       พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภทอ่านเพิ่มเติม

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

        พุทธศาสนิกชนควรมีความรู้ในหลักธรรมที่เป็นพื้นฐานแห่งความเจริญแห่งชีวิต อันได้แก่ จักร 4 และทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 โดยสามารถนำปัญญาที่ประกอบด้วยธรรม คือ สัปปุริสธรรม 7 และมรรคมีองค์ 8 เข้าตรวจสอบคุณภาพชีวิตของตน สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต เพื่อความผาสุกแก่ตนเองและสังคมอ่านเพิ่มเติม